พาเที่ยว วัดแดนอีสาน

พาเที่ยว วัดแดนอีสาน ปีเก่าเมิดไป ปีใหม่มาเถิง บุญสงกรานต์มาเยือน ขอให้ท่านอยู่ดีมีแฮงเด้อหล่าเด้อ มื้อนี้น้องมีบุญสิพาพี่น้องเที่ยวภาคอีสาน ไปทางใด๋กะม่วนหลายก่อนจะออกเดินทาง น้องมีบุญขอเล่าถึงเทศกาลสงกรานต์ของชาวอีสาน หรือที่มีอีกหลายชื่อเรียก เช่น บุญเดือนห้า ตรุษสงกรานต์ บุญรดน้ำ เป็นต้น โดยกำหนดวันสงกรานต์ของภาคอีสาน คือวันที่ 13 – 15 เมษายน เหมือนภาคอื่นๆ ของประเทศ แต่จะมีการถือฤกษ์ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 เวลา 15:00 น. พระสงฆ์จะตีกลองโฮมเป็นการส่งสัญญาณเริ่มต้นปีใหม่ และเป็นเวลาเริ่มงานด้วยเช่นกัน

ชาวอีสานจะทำบุญเลี้ยงพระที่วัด มีการละเล่นพื้นบ้านต่างๆ เช่น เรือมตรด หรือรำตรุษสงกรานต์ ในวันสุดท้ายของเทศกาล ชาวอีสานจะทำบุญหมู่บ้าน นิมนต์พระสงฆ์มาสวดพระพุทธมนต์ในตอนเย็น และรุ่งเช้าทำบุญตักบาตร มีการพรมน้ำพระพุทธมนต์ทั่วหมู่บ้านเพื่อขับไล่สิ่งไม่ดี และต้อนรับสิ่งดีๆ ในวันปีใหม่ น้องมีบุญอยากจะชวนเพื่อนๆ ไปเที่ยววัดทำบุญ 5 วัดดังแดนอีสานด้วยกัน

พาเที่ยว วัดแดนอีสาน วัดเจติยภูมิ (วัดพระธาตุขามแก่น)

พาเที่ยว วัดแดนอีสาน ปูชนียสถานคู่บ้านคู่เมืองขอนแก่น มีชื่อเรียกเดิมว่า พระธาตุบ้านขาม ไม่ทราบปีที่สร้างแน่ชัด แต่มีตำนานเล่าขานถึงวัดแห่งนี้มากมาย แม้จะพยายามสืบเสาะหาความเป็นมาแต่ก็ไม่มีผู้ใดรู้แน่ชัด ในที่สุด ก็ได้ตำนานที่เล่าจากผู้เฒ่าผู้แก่ เรียบเรียงประวัติใหม่ คณะกรรมการทำการตรวจสอบแล้วว่ามีความน่าเชื่อถือ คือ นับตั้งแต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน เมื่อถวายพระเพลิงเสร็จแล้ว  ก็มีการนำพระบรมสารีริกธาตุไปประดิษฐานในที่ต่างๆครั้งต่อมาโมริยกษัตริย์ เจ้านครโมรีย์ (อยู่ในประเทศกัมพูชาปัจจุบัน) ทราบข่าวภายหลังเพราะอยู่ห่างไกล และเดินทางช้า จึงได้แต่พระอังคารธาตุ (ฝุ่น) นำไปไว้ที่นครของตน ประมาณพุทธศักราชล่วงมาได้ 3 ปี พระมหากัสสปะเถระเจ้า พร้อมด้วยพระอรหันต์ 500 องค์ นำเอาพระอุรังคธาตุ (กระดูกส่วนอก) ไปประดิษฐานไว้ภูกำพร้า (พระธาตุพนมในปัจจุบัน) พระยาหลังเขียว โมริยกษัตริย์

และพระอรหันต์ยอดแก้ว, พระอรหันต์รังษี , พระอรหันต์คันที และไม่ปรากฏชื่ออีก 6 องค์ จึงเดินทางพร้อมอัญเชิญเอาพระอังคารธาตุเพื่อไปบรรจุไว้ในพระธาตุพนมด้วย ระหว่างการเดินทาง ได้พบกับพื้นที่แห่งหนึ่ง เป็นที่ดอนราบเรียบ มีห้วยสามแยก น้ำไหลผ่านรอบดอน และมีต้นมะขามใหญ่ที่ตายแล้วเหลือแต่แก่นอยู่ต้นหนึ่ง จึงได้พักแรมกันที่นี่ และนำเอาพระอังคารธาตุพักไว้บนต้นมะขามที่ตายแล้ว ถึงรุ่งเช้าก็ออกเดินทางต่อไปยังพระธาตุพนม ครั้นไปถึง พระธาตุพนมก็ได้สร้างเสร็จแล้ว ไม่สามารถนำพระอังคารธาตุบรรจุลงไปได้อีก จึงตั้งใจว่าจะเอากลับไปไว้ที่นครของตนตามเดิม โดยได้เดินทางย้อนกลับไปตามเส้นทางเก่า แต่เมื่อเดินทางมาถึงจุดที่เคยพักแรม พบว่าต้นมะขามใหญ่ที่ล้มตายนั้น กลับผลิดดอก ออกผล แตกกิ่งก้านสาขาสวยงาม อาจจะเป็นด้วยเทพนิมิต หรืออภินิหารของพระอังคารธาตุ จึงพร้อมใจกันก่อสร้างพระธาตุครอบต้นมะขามนั้น และบรรจุพระอังคารธาตุของพระพุทธเจ้าไว้ภายใน ด้วยเหตุนี้ จึงเรียกชื่อพระธาตุนี้ว่า “พระธาตุขามแก่น”

เมื่อสร้างจนแล้วเสร็จ พระยาหลังเขียวพร้อมด้วยบริวารจึงสร้างบ้านแปลงเมืองที่นี่ และสร้างวัดให้เป็นที่พำนักของพระอรหันต์ทั้ง 9 องค์ ประกอบด้วยวิหาร และพัทธสีมาเคียงคู่กับองค์พระธาตุสืบต่อมา เมื่อเวลาล่วงเลย พระอรหันต์ทั้ง 9 องค์ก็ได้ดับขันธ์ปรินิพพาน ชาวบ้านจึงนำเอาอัฐิธาตุของท่านบรรจุไว้ในพระธาตุองค์เล็ก ซึ่งอยู่ด้านทิศตะวันออกของอุโบสถ และเรียกพระธาตุองค์ใหญ่ว่า ครูบาทั้งเก้าเจ้ามหาธาตุ  พระธาตุองค์เล็กเรียกว่า ครูบาทั้งแปดวัดแห่งนี้ จึงได้ชื่อว่าเป็นวัดเก่าแก่ และศักดิ์สิทธิ์ หากใครได้ไปเยือนขอนแก่น ก็อย่าลืมไปไหว้พระ สักการะทำบุญที่วัดแห่งนี้ โดยที่นี่มีความเชื่อว่าหากใครได้ทำบุญที่นี่ จะได้รับผลอานิสงค์คือ เรื่องร้ายกลายเป็นดี รักยั่งยืน โรคภัยที่มีหลีกลี้ห่างหาย ดุจดังแก่นขามตายแล้วฟื้น นั่นเอง

วัดพระพุทธบาทยโสธร

อีกหนึ่งวัดที่มีประวัติยาวนาน มีที่ตั้งอยู่บนเนินทรายริมแม่น้ำชีที่มีทัศนียภาพอันสวยงาม เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปศิลาแลงปางนาคปรกหินทราย (หน้าตักกว้างประมาณ 1 ศอก) พระพุทธบาทจำลอง และศิลาจารึกหินทราย (สูง 1 เมตรกว้าง 50 เซนติเมตร) ซึ่งบนศิลาจารึกปรากฏข้อความที่เป็นอักขระขอมผสมบาลี สภาพค่อนข้างเลือน แต่พอจะถอดใจความบางส่วนได้ว่า โบราณวัตถุทั้ง 3 นี้ พระมหาอุตตปัญญา และสิทธิวิหาริก (ผู้ศรัทธาหรือลูกศิษย์) นำมาจากกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 1378 แต่ต่อมาเป็นวัดร้าง จนเมื่อพระราชมุนี (โฮม โสภโณ) อดีตผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดปทุมวนารามราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร เดินธุดงค์มาพบ และได้ทำการสร้างขึ้นเป็นวัด พัฒนาจนรุ่งเรือง และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ

พาเที่ยว วัดแดนอีสาน วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2521 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร มีอาคารเสนาสนะประกอบด้วย ศาลาการเปรียญ กว้าง 17 เมตร ยาว 34 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2527 กุฏิสงฆ์จำนวน 15 หลัง มณฑป 4 หลัง กุฏิชี 4 หลัง ศาลาหอฉัน 1 หลัง และบ้านรับรอง 1 หลังนอกจากนั้น ภายในวัดยังมีเจดีย์ 8 เหลี่ยมทรงระฆังคว่ำสร้างขึ้นเพื่อถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในวโรกาสที่พระองค์ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และหุ่นขี้ผึ้งของบูรพาจารย์ จำนวน 8 องค์ พระอุโบสถเน้นความเรียบง่ายด้วยสถาปัตยกรรม และการทาสีขาวล้วน แต่งดงามตามแบบศิลปะประยุกต์ เป็นที่ประดิษฐานพระประธานที่เจียระไนจากหยกขาว ขนาดหน้าตักกว้าง 2.31 เมตร สูง 3.7 เมตร ซึ่งถือเป็นพระพุทธรูปหยกขาวใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

 

บทความแนะนำ