เปิดประวัติ วัดศรีสุพรรณ วัดโบราณอายุเก่าแก่กว่า 500 ปี

เปิดประวัติ วัดศรีสุพรรณ จากกรณีพระธาตุเจดีย์ของ “วัดศรีสุพรรณ” อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ พังถล่ม เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2565 นั้น จากรายงานของผู้เชี่ยวชาญพบว่า เนื่องจากฝนตกหนักในช่วงที่ผ่านมา มีน้ำฝนไหลซึมเข้าไปด้านใน ประกอบกับสภาพพระธาตุเจดีย์องค์เก่าที่ถูกสร้างครอบไว้ผุพังตามกาลเวลา จึงเป็นเหตุให้เกิดการทรุดตัวและพังถล่มลงในที่สุดตามประวัติของวัดศรีสุพรรณ เป็นวัดที่มีอายุมากกว่า 500 ปี ถือเป็นวัดที่เก่าแก่มากที่สุดวัดหนึ่งในตัวเมืองเชียงใหม่ โดยปรากฏหลักฐานประวัติการก่อสร้างวัดใน “จารึกวัดศรีสุพรรณ”

และทำการผูกพัทธสีมาอุโบสถเมื่อ พ.ศ. 2052 และสร้างวิหาร พระบรมธาตุเจดีย์ อุโบสถ และนำพระพุทธปาฏิหาริย์ (ชื่อเดิมคือ พระเจ้าเจ็ดตื้อ) มาประดิษฐานในอุโบสถ โดยวัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2400อีกหนึ่งไฮท์ไลท์ของวัดศรีสุพรรณคือภายในวัดมี “อุโบสถเงิน” แห่งแรกของโลก โดยเป็นอุโบสถหลังใหม่ที่ปฏิสังขรณ์จากฐานและเขตพัทธสีมาของอุโบสถหลังเดิมที่มีการชำรุด โดยใช้กรรมวิธีของภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนวัวลายโดยอุโบสถหลังนี้ ใช้วัสดุจากอลูมิเนียม (วัสดุแทนเงิน) เงินผสม และเงินบริสุทธิ์ สลักลวดลายสวยงาม ภายในอุโบสถประดิษฐานองค์พระประธาน “พระเจ้าเจ็ดตื้อ” พระพุทธรูปขนาดหน้าตักกว้าง 3 ศอก สูง 4 ศอก ปางมารวิชัย เนื้อทองสัมฤทธิ์

เปิดประวัติ วัดศรีสุพรรณ ที่ควรรู้

เปิดประวัติ วัดศรีสุพรรณ ข้อความจารึกด้านที่ 1 กล่าวถึงเจ้าเมืองเชียงใหม่และพระราชมาดาได้อัญเชิญพระพุทธรูปมาประดิษฐาน ณ มหาวิหารให้ชื่อว่า “ศรีสุพรรณอาราม” เพื่อถวายพระกุศลแด่เจ้าแผ่นดินสองพระองค์ จากนั้นได้นิมนต์มหาเถรญาณรัตนจากวัดหมื่นล้านให้มาอยู่เป็นอาทิสังฆนายกในอารามแห่งนี้

ส่วนจารึกด้านที่ 2 กล่าวถึงการสร้างพระอุโบสถและประดิษฐานพระธาตุในมหาเจดีย์ โดยบรรทัดที่ 5-6 ระบุว่า “ในปีกัดไส้เดือนอาษาฒ ไทยว่าเดือน 8 โหราออก 11 ค่ำ วันพุธ ไทยเต่าสัน” ซึ่งตรงกับวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2052 ในสมัยพญาแก้วหรือพระเมืองแก้วปกครองเมืองเชียงใหม่ (พ.ศ. 2038-2068)

โดยสรุปประวัติแล้ว เมื่อ พ.ศ. 2043 พระเมืองแก้ว กษัตริย์เมืองเชียงใหม่ และพระนางสิริยสวดี พระราชมารดา โปรดเกล้าฯ ให้มหาอำมาตย์ชื่อ เจ้าหมื่นหลวงจ่าคำ นำพระพุทธรูปทองสำริดองค์หนึ่งมาประดิษฐานและสร้างวัดชื่อว่า “วัดศรีสุพรรณอาราม” ภายหลังเรียกสั้น ๆ ว่า “วัดศรีสุพรรณ” ได้รับวิสุงคามสีมาจากพระเมืองแก้ว และอาราธนาพระสงฆ์ประกอบพิธีผูกพัทธสีมาเมื่อ พ.ศ. 2052

มีเรื่องเล่าสืบต่อกันว่า ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุ่นยึดวัดศรีสุพรรณเป็นที่ตั้งฐานทัพ ใช้หอไตรของวัดเป็นกองบัญชาการรบกับกองทัพพันธมิตร จนพระเณรต้องหนีไปอยู่ที่อื่น และได้มีการจับเชลยศึกจำนวนมากมาทรมานภายในวัด ครั้นเมื่อฝ่ายพันธมิตรส่งกำลังทางอากาศเข้าโจมตีฐานที่มั่นกองทัพญี่ปุ่นที่วัดศรีสุพรรณ ศาสนสถานเสียหายย่อยยับ แต่เป็นเรื่องแปลกที่พระพุทธภายในพระอุโบสถ มิได้รับความเสียหาย มีเพียงรอยแฉลบของกระสุนที่ไหล่ขวาและเข่าซ้ายเท่านั้น ชาวบ้านจึงเรียกพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “พระพุทธปาฏิหาริย์”

สำหรับพระธาตุเจดีย์องค์ที่ล้มลงมานั้นตั้งอยู่หลังพระวิหาร เป็นพระธาตุเจดีย์ก่ออิฐถือปูนแบบล้านนา องค์ระฆังทรงกลมตั้งบนฐานดอกบัวคว่ำบัวหงายแปดชั้นแปดเหลี่ยม ตั้งบนเรือนธาตุรองรับเป็นทรงสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้ 36 ทั้งนี้ พระธาตุเจดีย์องค์นี้ได้รับการปฏิสังขรณ์มาแล้วหลายครั้ง ทำให้รายละเอียดบางอย่างถูกปรับไปตามแต่ละยุคสมัยที่มีการปฏิสังขรณ์

สิ่งที่ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชาย สายสิงห์ อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะและผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะล้านนา ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับพระธาตุเจดีย์ วัดศรีสุพรรณ จัดพิมพ์ทางเฟซบุ๊กเพจ “ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลป์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร” ดังนี้

เปิดประวัติ วัดศรีสุพรรณ “ประวัติการก่อสร้างเจดีย์บ่งบอกว่าเป็นสถาปัตยกรรมในสมัยพระเจ้าสิริธรรมจักรพัฒน์ (พระเมืองแก้ว) ประมาณ 1505 ปีก่อนคริสตกาล อย่างไรก็ตาม หลักฐานของรูปแบบและรูปลักษณ์แสดงให้เห็นร่องรอยของผลงานล่าสุด รวมถึงรูปแบบศิลปะของวัตถุศิลปะบางส่วนที่บรรจุอยู่ในนั้น เข้าใจได้ว่าเจดีย์ที่เห็นอยู่ทุกวันนี้เป็นงานซ่อมแซมที่สืบทอดมาในรุ่นต่อๆ ไป อาจเป็นสมัยรัชกาลที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือในช่วงบูรณะครูบาศรีวิชัย ซึ่งจะมีการสร้างเจดีย์ใหม่ครอบรุ่นแรก

แต่อิฐของเจดีย์เดิมอาจมีสภาพชำรุดทรุดโทรมอยู่แล้ว ดังนั้นหากสร้างฝาครอบให้คลุมจึงเพิ่มน้ำหนักและกักเก็บความชื้น จะช่วยกระตุ้นการผุกร่อนของอิฐเก่า เมื่อมีฝนตกมาก อิฐก็จะชุ่มไปด้วยน้ำ ประกอบกับสภาพที่ไม่สมบูรณ์ก็พังทลายลงอย่างที่เห็น

สำหรับพระพุทธรูปที่พบในเจดีย์ที่พังทลายลง ส่วนหนึ่งเมื่อพิจารณาว่ามีอายุตั้งแต่สมัยพระเมืองแก้วตามประวัติการก่อสร้างแสดงให้เห็นจริง เพราะบางคนอยู่ในสภาพศีรษะแตก แต่ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นงานใหม่ในการสร้างสรรค์ครั้งหน้าจึงเป็นไปได้ว่าเจดีย์นี้อาจจะพังทลายลงหรืออยู่ในสภาพไม่สมบูรณ์ก็ได้ ดังนั้นจึงมีการสร้างฝาครอบใหม่ตามรุ่นปัจจุบัน ก่อนที่มันจะพังทลายลงอีกครั้ง”

 

บทความแนะนำ